การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม / พิศมัย ศรีอำไพ

By: พิศมัย ศรีอำไพ
Material type: ArticleArticleSubject(s): คณิตศาสตร์ -- การพัฒนา | คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนรู้ In: มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 24,2 (เม.ย-มิ.ย 2548) 1-7.Summary: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้เรื่องเลขยกกำลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือจำนวน 13 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเลขยกกำลัง และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้เรื่องเลขยกกำลัง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การทดสอบค่า t แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Sample) ผลการศึกษาพบว่า แผนการจัดกิจกรรมSummary: การเรียนรู้แบบร่วมมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนั้น ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และเจตคติต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องเลขยกกำลัง ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้เรื่องเลขยกกำลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือจำนวน 13 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเลขยกกำลัง และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้เรื่องเลขยกกำลัง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การทดสอบค่า t แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Sample) ผลการศึกษาพบว่า แผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้แบบร่วมมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนั้น ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และเจตคติต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องเลขยกกำลัง ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี.

There are no comments on this title.

to post a comment.
    ARIT Muban Chombueng Rajabhat University
    46 Chombueng, Chombueng, Ratchaburi 70150, Thailand
    ☎ 0-3226-1790-7, 0-3226-1078