กีวีฟรุต / ยงยุทธ ข้ามสี และ รังสรรค์ เครือดำ.

By: ยงยุทธ ข้ามสี
Contributor(s): รังสรรค์ เครือดำ
Material type: ArticleArticleSubject(s): กีวี่ฟรุต (พืช) In: แม่โจ้ปริทัศน์ 3,6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2545) 12-17.Summary: กีวี่ฟรุต หรือในอดีตเรียกว่า Chinese gooseberry จัดเป็นไม้ผลขนาดเล็กจำพวกเถาเลื้อยหลายปี ประเภทผลัดใบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinidia deliciosa [Chevalier] Liang & Ferguson มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้แถบหุบเขาแยงซี ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีหลายชนิด นอกจาก A.deliciosa แล้วยังมี A.chinensis และ A.arguta ที่ผลสามารถนำมารับประทานได้ แต่ชนิดที่มีการพัฒนาทำเป็นการค้านั้นมีเพียง A.deliciosa กีวีฟรุตแม้ว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่กลับได้ชื่อมาจากนกกีวี ซึ่งเป็นนกประจำชาติของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่เริ่มพัฒนาปลูกกีวีฟรุตเพื่อการค้าเมื่อปี พ.ศ. 2475 ขณะที่ในประเทศไทยนั้น ได้มีการนำมาทดลองปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยมูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กีวีฟรุต เป็นผลไม้ที่สามารถนำมารับประทานทั้งผลสด และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำผลไม้ ไวน์ ผลไม้แห้ง และผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

กีวี่ฟรุต หรือในอดีตเรียกว่า Chinese gooseberry จัดเป็นไม้ผลขนาดเล็กจำพวกเถาเลื้อยหลายปี ประเภทผลัดใบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinidia deliciosa [Chevalier] Liang & Ferguson มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้แถบหุบเขาแยงซี ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีหลายชนิด นอกจาก A.deliciosa แล้วยังมี A.chinensis และ A.arguta ที่ผลสามารถนำมารับประทานได้ แต่ชนิดที่มีการพัฒนาทำเป็นการค้านั้นมีเพียง A.deliciosa กีวีฟรุตแม้ว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่กลับได้ชื่อมาจากนกกีวี ซึ่งเป็นนกประจำชาติของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่เริ่มพัฒนาปลูกกีวีฟรุตเพื่อการค้าเมื่อปี พ.ศ. 2475 ขณะที่ในประเทศไทยนั้น ได้มีการนำมาทดลองปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยมูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กีวีฟรุต เป็นผลไม้ที่สามารถนำมารับประทานทั้งผลสด และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำผลไม้ ไวน์ ผลไม้แห้ง และผลไม้กระป๋อง เป็นต้น

There are no comments on this title.

to post a comment.
    ARIT Muban Chombueng Rajabhat University
    46 Chombueng, Chombueng, Ratchaburi 70150, Thailand
    ☎ 0-3226-1790-7, 0-3226-1078