การปรับปรุงพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานแล้งเพื่อปลูกในสภาพไร่ / บุญหงษ์ จงคิด.

By: บุญหงษ์ จงคิด
Material type: ArticleArticleSubject(s): ข้าวขาวดอกมะลิ 105 -- วิจัย In: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์ 10,1 (มกราคม-มิถุนายน 2545) 26-34.Summary: พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวหอมที่มีคุณภาพและราคาสูง แต่เนื่องจากการขาดแคลนน้ำปลูกข้าวนาดำ ในปัจจุบันย่อมเป็นปัญหาต่อการส่งเสริมการปลูกข้าวคุณภาพดีที่ให้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก ดังนั้นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานแล้งเพื่อปลูกในสภาพไร่ จึงน่าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และเป็นวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินการวิจัยนี้ วิธีการดำเนินการกระทำโดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กับพันธุ์ดอกพะยอม ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวไร่ต้านทานแล้ง นำเมล็ดลูกผสมชั่วแรกไปเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์สูตรจนพัฒนาเป็นต้นข้าว และนำไปปลูกได้ต้นที่ไม่เป็นหมันจำนวน 80 สายพันธุ์ หลังจากนำสายพันธุ์เหล่านี้ไปปลูกคัดเลือกหลายพันธุ์ที่ต้านทานแล้งในระยะต้นกล้าภายใต้สภาพการขาดน้ำภายในโรงเรือน พบว่ามีสายพันธุ์ที่ต้านทานแล้งได้ดีจำนวน 36 สายพันธุ์ และพบว่ามีสายพันธุ์ที่ต้านทานแล้งและสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ดอกพะยอมจำนวนทั้งหมด 20 สายพันธุ์ โดยจำนวน 10 สายพันธุ์นั้นมีต้นสูงกว่าพันธุ์พ่อและแม่ได้มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยมีเปอร์เซนต์ของต้นที่ถูกทำลายในระดับ 1 เพียง 19.0,18.7 และ18.6 ตามลำดับ ในขณะที่สายพันธุ์ L13 และ L52 มีควมต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปานกลาง โดยมีเปอร์เซ็นต์ของต้นที่ถูกทำลายในระดับ 3 เป็น 26.2 และ 22.2 ตามลำดับ.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวหอมที่มีคุณภาพและราคาสูง แต่เนื่องจากการขาดแคลนน้ำปลูกข้าวนาดำ ในปัจจุบันย่อมเป็นปัญหาต่อการส่งเสริมการปลูกข้าวคุณภาพดีที่ให้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก ดังนั้นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานแล้งเพื่อปลูกในสภาพไร่ จึงน่าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และเป็นวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินการวิจัยนี้ วิธีการดำเนินการกระทำโดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กับพันธุ์ดอกพะยอม ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวไร่ต้านทานแล้ง นำเมล็ดลูกผสมชั่วแรกไปเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์สูตรจนพัฒนาเป็นต้นข้าว และนำไปปลูกได้ต้นที่ไม่เป็นหมันจำนวน 80 สายพันธุ์ หลังจากนำสายพันธุ์เหล่านี้ไปปลูกคัดเลือกหลายพันธุ์ที่ต้านทานแล้งในระยะต้นกล้าภายใต้สภาพการขาดน้ำภายในโรงเรือน พบว่ามีสายพันธุ์ที่ต้านทานแล้งได้ดีจำนวน 36 สายพันธุ์ และพบว่ามีสายพันธุ์ที่ต้านทานแล้งและสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ดอกพะยอมจำนวนทั้งหมด 20 สายพันธุ์ โดยจำนวน 10 สายพันธุ์นั้นมีต้นสูงกว่าพันธุ์พ่อและแม่ได้มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยมีเปอร์เซนต์ของต้นที่ถูกทำลายในระดับ 1 เพียง 19.0,18.7 และ18.6 ตามลำดับ ในขณะที่สายพันธุ์ L13 และ L52 มีควมต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปานกลาง โดยมีเปอร์เซ็นต์ของต้นที่ถูกทำลายในระดับ 3 เป็น 26.2 และ 22.2 ตามลำดับ.

There are no comments on this title.

to post a comment.
    ARIT Muban Chombueng Rajabhat University
    46 Chombueng, Chombueng, Ratchaburi 70150, Thailand
    ☎ 0-3226-1790-7, 0-3226-1078