การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการเปรียบเทียบชุมชนที่ปลอดการะบาดกับชุมชนทีมีการระบาดซำซากจังหวัดหนองบัวลำภู ปี 2547 / สังคม ศุภรัตนกุล และคนอื่นๆ

By: สังคม สุภัรัตนกุล
Contributor(s): ศรีสวัสดิ์ พรหมแสง | ดำรงค์ ฉิมนิล
Material type: ArticleArticleSubject(s): โรคไข้เลือดออก In: ควบคุมโรค 32,1 (ม.ค - มี.ค 2549)47-62.Summary: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการเปรียบเทียบชุมชที่ปลอดการระบาดกับชุมชนที่มีการระบาดซำซากด้วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัหนองบัวลภภู เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบภาคตัดขวาง ณ เวลาที่ศึกษา ขนาดตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 180 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ก.ค - 30 ส.ค 2547 ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยพื้นฐานในพื้นที่ปลอดโรคไข้เลือดออกเปรียบเทียบกับพื้นที่ระบาด ซำซากมีระดับต่างๆ ดังนี้ 1. ระดับความรู้และการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน 2. ระดับทัศนคติต่อโรคไข้เลือดออกและความเชื่อที่ถูกต้อง ด้านสุขภาพดีกว่าพื้นที่ระบาดซ้ำซาก 3. บทบาทในกิจกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลายทำได้น้อยกว่าพื้นที่ระบาดซำซาก 4. สภาวะทางเศรษฐกิจชุมชนต่ำกว่าในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก ปัจจัยเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่แตกต่างกันSummary: ข้อสรุปแสดงให้เห็นว่ารูปแบบของการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออกในอนาคตจะต้องสามารถเชื่อมโยงหลายๆ ปัจจัยมาผสมผสานกัน ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านพยาธิสภาพของโรคที่เกิดปีเว้นปี หรือปีเว้นสองปี การมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท นโยบายท้องถิ่นกับนโยบายรัฐบาลและพฤติกรรมของชุมชนควรมีการส่งเสริมปัจจัยเอื้อให้มากขึ้น ในด้านปัจจัยเสริมไม่ได้เป็นปัจจัยหลักต่อการควบคุมลูกน้ำยุงลายทั้งสองพื้นที่.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการเปรียบเทียบชุมชที่ปลอดการระบาดกับชุมชนที่มีการระบาดซำซากด้วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัหนองบัวลภภู เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบภาคตัดขวาง ณ เวลาที่ศึกษา ขนาดตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 180 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ก.ค - 30 ส.ค 2547 ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยพื้นฐานในพื้นที่ปลอดโรคไข้เลือดออกเปรียบเทียบกับพื้นที่ระบาด ซำซากมีระดับต่างๆ ดังนี้ 1. ระดับความรู้และการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน 2. ระดับทัศนคติต่อโรคไข้เลือดออกและความเชื่อที่ถูกต้อง ด้านสุขภาพดีกว่าพื้นที่ระบาดซ้ำซาก 3. บทบาทในกิจกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลายทำได้น้อยกว่าพื้นที่ระบาดซำซาก 4. สภาวะทางเศรษฐกิจชุมชนต่ำกว่าในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก ปัจจัยเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่แตกต่างกัน

ข้อสรุปแสดงให้เห็นว่ารูปแบบของการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออกในอนาคตจะต้องสามารถเชื่อมโยงหลายๆ ปัจจัยมาผสมผสานกัน ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านพยาธิสภาพของโรคที่เกิดปีเว้นปี หรือปีเว้นสองปี การมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท นโยบายท้องถิ่นกับนโยบายรัฐบาลและพฤติกรรมของชุมชนควรมีการส่งเสริมปัจจัยเอื้อให้มากขึ้น ในด้านปัจจัยเสริมไม่ได้เป็นปัจจัยหลักต่อการควบคุมลูกน้ำยุงลายทั้งสองพื้นที่.

There are no comments on this title.

to post a comment.
    ARIT Muban Chombueng Rajabhat University
    46 Chombueng, Chombueng, Ratchaburi 70150, Thailand
    ☎ 0-3226-1790-7, 0-3226-1078