การวิจัยปฏิบัติการโดยดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ ณ.บริเวณถ้ำจอมพล จ.ราชบุรี / อำนวย สุนทรวาท

By: อำนวย สุนทรวาท
Contributor(s): สัจจา ไกรศรรัตน์
Material type: TextTextSubject(s): ถ้ำ -- การท่องเที่ยว | ถ้ำ -- การวิจัย In: วาสารวิทยาการจัการ ม.ราชภัฏหมุ่บ้านจอมบึง 2,2 (2548) 57-64.Summary: การวิจัยปฏิบัติการ โดยการดึงการมีส่วนร่วมเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ประเภทถ้ำ ณ บริเวณถ้ำจอมพล จังหวัดราชบุรี ดำเนินการวิจัยด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีวัตถุระสงค์ของการดำเนินการเพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ขององค์กรท้องถิ่นในการฟื้นฟูและพัฒนาถ้ำจอมพล เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการถ้ำจอมพลอย่างยิ่งยืนและเพื่อกำหนดมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน โดยผู้มีส่วนร่วมได้แก่ คณะ ผู้วิจัยและองค์กรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาบัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เทศบาลตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึงวัด สถานศึกษาในท้องถิ่น การท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชุมชน พ่อค้าและตัวแทนของชุมชนต่างๆ การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2547 ผลการศึกษาพบว่าSummary: แหล่งท่องเที่ยวสวนรุกชาติถ้ำจอมพล มีจุดเด่นที่สำคัญคือ ความสวยงามของหินงอกหินย้อยถ้ำโปร่งสบาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เคยถวายการต้อนรับพระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ชุมชนใช้สถานที่ท่องเที่ยว เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นสถานที่ออกกำลังกาย และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา ในท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยวสวนรุกชาติถ้ำจอมพลประกอบด้วยหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานได้แก่ สวนรุกชาติถ้ำจอมพล เทศบาลตำบลจอมบึงและวัดจอมบึง ซึ่งเป็นองค์กรที่เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นโดยเทศบาลตำบลจอมบึงเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่หลักในการบริหารแหล่งท่องเที่ยว ถ้ำจอมพลและให้เทศบาลประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การวิจัยปฏิบัติการ โดยการดึงการมีส่วนร่วมเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ประเภทถ้ำ ณ บริเวณถ้ำจอมพล จังหวัดราชบุรี ดำเนินการวิจัยด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีวัตถุระสงค์ของการดำเนินการเพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ขององค์กรท้องถิ่นในการฟื้นฟูและพัฒนาถ้ำจอมพล เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการถ้ำจอมพลอย่างยิ่งยืนและเพื่อกำหนดมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน โดยผู้มีส่วนร่วมได้แก่ คณะ ผู้วิจัยและองค์กรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาบัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เทศบาลตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึงวัด สถานศึกษาในท้องถิ่น การท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชุมชน พ่อค้าและตัวแทนของชุมชนต่างๆ การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2547 ผลการศึกษาพบว่า

แหล่งท่องเที่ยวสวนรุกชาติถ้ำจอมพล มีจุดเด่นที่สำคัญคือ ความสวยงามของหินงอกหินย้อยถ้ำโปร่งสบาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เคยถวายการต้อนรับพระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ชุมชนใช้สถานที่ท่องเที่ยว เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นสถานที่ออกกำลังกาย และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา ในท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยวสวนรุกชาติถ้ำจอมพลประกอบด้วยหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานได้แก่ สวนรุกชาติถ้ำจอมพล เทศบาลตำบลจอมบึงและวัดจอมบึง ซึ่งเป็นองค์กรที่เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นโดยเทศบาลตำบลจอมบึงเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่หลักในการบริหารแหล่งท่องเที่ยว ถ้ำจอมพลและให้เทศบาลประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

There are no comments on this title.

to post a comment.
    ARIT Muban Chombueng Rajabhat University
    46 Chombueng, Chombueng, Ratchaburi 70150, Thailand
    ☎ 0-3226-1790-7, 0-3226-1078